วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาวะมีบุตรยาก 

หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ทั้งที่ไม่ได้คมุกำเนิดและมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี  ประมาณร้อยละ 15 ของคู่สมรส ในประเทศไทย มีประชาชนที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์ประมาณ 10 ล้านคู่    ดังนั้นจะมีคู่สมรสประมาณ 1.5 ล้านคู่ ที่มีปัญหาดังกล่าว

   เราแบ่งภาวะมีบุตร  ยากออกเป็น 2ชนิด คือ

1. ภาวะมีบุตรยาก ชนิดปฐมภูมิ คือ คู่สมรสดังกล่าวไม่เคยมีบุตรเลย

2. ภาวะมีบุตรยากชนิดทุตยภูมิ คือ คู่สมรสดังกล่าวเคยมีบุตรมาแล้ว แต่ไม่สามารถมีอีก
ในฝ่ายชาย มีการสร้างเชื้ออสุจิที่ลูกอัณฑะเชื้ออสุจิจะทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธ์ของฝ่ายชาย นำพาเอาลักษณะทางพันธุกรรมถ่ายทอดไปสู่บุตรต่อไป ส่วนฝ่ายหญิงประมาณกลางรอบระดูไข่จะสุกเต็มที่
และเกิดการตกไข่รอบละหนึ่งใบ ในขณะเดียวกันเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีการเจริญหนาตัวขึ้นจากการกระตุ้นของฮอร์โมนจากรังไข่ เพื่อเตรียมเป็นฝังตัวของตัวอ่อน ถ้าไข่กับเชื้ออสุจิไม่มีการปฏิสนธิกันในรอบนั้น ฮอร์โมนจากรังไข่จะลดระดับลงทำให้มีการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกกลายเป็นระดูออกมาทางช่องคลอด
เมื่อมีเพศสัมพันธ์เชื้ออสุจิว่ายผ่านมูกบริเวณปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกและหลอดมดลูก ถ้าขณะนั้นมีไข่ตกเข้ามาในหลอดมดลูกพอดีจะเกิดการปฏิสนธิระหว่างเชื้ออสุจิหนึ่งตัวกับไข่หนึ่งใบ และเกิดการแบ่งตัวกลายเป็นตัวอ่อนตัวอ่อนดังกล่าวจะค่อยๆ เคลื่อนตามหลอดมดลูกเข้ามาในโพรงมดลูก
มาฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก และเจริญเติมบโตเป็นทารกต่อไป
สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก อาจเกิดจากฝ่ายชาย ร้อยละ 40 ฝ่ายหญิง ร้อยละ 50 หรือทั้ง 2 ฝ่ายร้อยละ 10
สาเหตุจากฝ่ายชาย อาจเกิดจาก

๐ การสร้างเชื้ออสุจิที่ผิดปกติทำให้ไม่มีเชื้อหรือได้เชื้ออสุจิที่มีคุณภาพไม่ดี สาเหตุอาจเกิดจาก

๐ เส้นเลือดขอดที่ถุงอัณฑะ ลูกอัณฑะไม่ลงมาในถุงอัณฑะ

๐ ลูกอัณฑะฝ่อ

๐ โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ ทำห้การควบคุมการสร้างเชื้ออสุจิผิดปกติ

๐ การขนส่งเชื้ออสุจิผิดปกติ เช่น การอุดตันของท่อน้ำเชื้อจากความพิการแต่กำเนิดหรือการติดเชื้ื่อทางกามโรค

การทำหมันชาย ทำให้เชื้ออุจิไม่สามารถออกมาได้

๐ การมีเพศสัมพันธ์และการหลั่งน้ำเชื้อที่ผิดปกติ เช่น

๐ การมีเพศสัมพันธ์ที่ห่างเกินไป ทำให้โอกาสที่จะตรงกับวันที่ไข่ตกน้อยลง

๐ กามตายด้าน

๐ ภาวะที่ไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้ออกมาภายนอก

๐ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความร้อน สารเคมี ความเครียด จาการทำงาน โรคประจำตัวทางร่างกายอื่นๆ

สาเหตุจากฝ่ายหญิงอาจเกิดจาก

๐ ความผิดปกติของการสร้างไข่หรือการตกไข่ เช่น

๐ ความผิดปกติของสมองส่วนฮัยโปธาลามัสหรือต่อมใต้สมอง

๐ ความผิดปกติที่รังไข่ เช่น รังไข่ไม่มีการตกไข่ รังไข่เสื่อมจากการติดเชื้อ สารเคมีรังสี การผ่าตัดหรืออายุมาก

๐ โรคทางระบบต่อมไร้ท่ออื่นๆ

๐ ความผิดปกติของอุ้งเชิงกรานและหลอดมดลูก ทำให้เกิดพังผืดใน อุ้งเชิงกรานและหลอดมดลูกอุดตัน เช่น

๐ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในอุ้งเชิงกราน

(Endometrosis)

๐ ภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

๐ การทำหมันหญิง

๐ ความผิดปกติของปากมดลูกและมดลูก เช่น

๐ ปากมดลูกผิดปกติ รูปากมดลูกตีบตัน ทำให้เชื้ออสุจิม่ามารถผ่านเข้าไปได้

๐ เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก พังผิดในโพรงมดลูก ทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้

๐ ความผิดปกติของช่องคลอด เช่น มีแผ่นกั้นช่องคลอดทำให้เชื้ออสุจิไม่สามารถผ่านเข้าไปได้

๐ ปัจจัยอื่นๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ห่างเกินไป ความเครียด โรคประจำตัวทางร่างกายอื่นๆ

แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดทั้งฝ่ายชายและหญิง หลังจากนั้นจะส่งครวจทางห้องปฏิบัตรการ

เพิ่มเติมตามความเหมาะสม

๐ การตรวจทางห้องปฏิบัติการของฝ่ายชาย

๐ การตรวจเชื้ออสุจิ เพื่อดูปริมาณ การเคลื่อนไหว จำนวนและรูปร่างของตัวอสุจิ

๐ การตรวจระดับฮอร์โมน เพื่อค้นหาความผิดปกติของระบบต่อไร้ท่อ

๐ การตรวจทางฝ่ายหญิง

๐ การตรวจวัดอุณหภูมิพื้นฐานของร่ายกายเพื่อดูการตกไข่

๐ การตรวจระดับฮอร์โมน เพื่อนค้นหาความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ และดูการทงานของรังไข่

๐ การฉีดสีและเอกซเรย์โพรงมดลูก หลอดมดลูกเพื่อดูว่ามีการตีบตันหรือรูปร่างผิดหรือไม่

๐ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง โพรงมดลูก รังไข่ และความผิดปกติอื่นในอุ้งเชิงกราน

๐ การตรวจส่องกล้อง Laparoscope ในช่องท้อง เพื่อดูพยาธิสภาพต่างๆในอุ้งเชิงกราน

และอาจผ่าเลาะพังผืดในอุ้งเชิงกรานในเวลาเดียวกันได้

๐ การตรวจส่องกล้อง Hysteroscope ในโพรงมดลูกเพื่อดูพยาธิสถาพต่างๆ ในโพรงมดลูก

ในเบื้องดันแพทย์จะรักาสาเหตุที่แก้ไขได้

๐ การให้ยารักษาตามสาเหตุที่พบ

๐ การผ่าตัดแก้ไขในรายที่ท่อนำไข่อุดตัน เนื้องอก มดลูก ถุงน้ำรังไข่ พังผืดในอุ้งเชิงกราน

เส้นเลือด ขอดที่ถุงอัณฑะ

๐ การใช้ยาร่วมกับการผ่าตัดด้วยกล้อง Laparoscope ในบางราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น